พระพุทธรูปปาง ห้ามพยาธิ (โรค)

ประดิษฐานภายในวัดเฬุวนาราม ในปัจจุบัน

วัดในครั้งพุทธกาล ตอนที่ 1

         

วัดเวฬุวนาราม

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงโปรดชฎิล ๓ พี่น้องพร้อมด้วยบริวาร๑๐๐๐คน ณ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชราจนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ และให้บวชเป็นพระภิกษุแล้ว ทรงนำภิกษุเหล่านั้นเสด็จไปสู่กรุงราชคฤห์ ประทับ ณ ลัฏฐิวัน(สวนตาลหนุ่ม) ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจโปรดพระเจ้าพิมพิสารจนได้บรรลุพระโสดาบัน ทำให้พระองค์ทรงหมดความสงสัยในพระรัตนตรัย มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนาและทำให้ความปรารถนาของพระเจ้าพิมพิสารที่ทรงตั้งไว้ตั้งแต่ครั้งยังทรงเป็นมกุฎราชกุมารนั้นเต็มครบบริบูรณ์ในวันนั้น

ความปรารถนาของพระเจ้าพิมพิสาร

พระเจ้าพิมพิสาร เมื่อครั้งยังทรงเป็นมกุฎราชกุมาร ได้ทรงตั้งความปรารถนาไว้ ๕ ประการ คือ

๑. ขอให้ข้าพเจ้าได้รับการอภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินในแคว้นมคธนี้เถิด

๒.ขอให้พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบจงมาสู้แว่นแคว้นของข้าพเจ้า

๓.ขอให้ข้าพเจ้าได้เข้าไปนั่งใกล้พระอรหันต์นั้น

๔.ขอให้พระอรหันต์จงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า

๕.ขอให้ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมของพระอรหันต์นั้น

พระเจ้าพิมพิสารทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ(ผู้นับถือพระพุทธศาสนา)ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิต กราบทูลนิมนต์พระศาสดาพร้อมด้วยพระสงฆ์ทั้งหมดไปฉันภัตตาหารในพระราชนิเวศน์ ในวันรุ่งขึ้น เสร็จเรียบร้อยแล้วทรงดำริว่า “ พระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์ไมมีที่อยู่ประจำเป็นหลักแหล่ง ต้องลำบากเที่ยวไปในที่ต่างๆ ” ทรงพิจารณาหาสถานที่เป็นสถานที่พักสำราญอิริยาบถของพระศาสดา พร้อมด้วยพระสงฆ์ ทรงเห็นว่า พระราชอุทยานเวฬุวันกลันทกวาปนสถาน(สวนไผ่เป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต)เป็นที่รื่นรมย์มีทางทางไปมาได้สะดวกไม่ไกล ไม่ใกล้จากชุมชนนัก กลางวันก็ไม่พลุกพล่าน กลางคืนก็เงียบสงัด สมควรเป็นที่อยู่ของสมณะผู้ปรารภความเพียร มีใจน้อมไปเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลส เมื่อพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงทรงจับพระเต้าทองหลั่งทักษิโณทกลงบนพระหัตถ์ของพระพุทธเจ้า กราบทูลถวายพระราชอุทยานเวฬุวัน(สวนไม้ไผ่)ให้เป็นพระอามราม(วัด)แห่งแรกในพระพุทธศาสนา นามว่า วัดเวฬุวนารามมหาวิหาร

บริเวณปากทางเข้าวัดเวฬุวนาราม ในปัจจุบัน

สระน้ำภายในวัดเวฬุวนาราม

 

สระน้ำภายในวัดเวฬุวนาราม

 

บริเวณภายในวัดเวฬุวนาราม

 

สวนไผ่อันร่มรื่นภายในวัดเวฬุวนาราม


          

 

โปรดติดตามตอนต่อไป ตอน วัดปุพพาราม

           ที่มา : พุทธประวัติและความเป็นมาแห่งพระพุทธศาสนา, กรุงเทพฯ: อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆสิตาราม, ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ หน้า ๑๒๘-๑๒๙





หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ ห้องสมุดวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร
เลขที่ ๒๕๐/๑ ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย จังหวัด กรุงเทพมหานคร
copyrights 2004 watrakang.com. all rights reserved. โทร.02-418-1079